ด้านสิทธิมนุษยชน ของ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา

การแสดงออกทางการเมือง

รัฐบาลมีนโยบายจำกัดการแสดงออกทางการเมืองของทุกฝ่ายโดยใช้กฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2559 ประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติภายใต้ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 การแสดงออกทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์ ถือเป็นยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 การแสดงออกทางการเมืองมักมีความเห็นจากรัฐบาลว่า "มีเจตนาไม่บริสุทธิ์แอบแฝงทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยที่สูญเสียอำนาจ"[18]ข้อหาดังกล่าวต้องขึ้นศาลทหาร รวมถึงถูกตั้งข้อหาตามความผิดฐานขัดคำสั่งหรือประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และมักมีการแจ้งข้อหา ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพิ่มเติม การจับกุมและเรียกรายงานตัวส่วนใหญ่เน้นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พรรคเพื่อไทย จอน อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ นักวิชาการกลุ่ม สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย และผู้สนับสนุนคณะนิติราษฎร์ อาทิคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 และผู้ลงรายชื่อให้แก้กฎหมายดังกล่าว[19]เช่นเรียกรายงานตัว ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จับกุม ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน จับกุมบุคคลที่เรียกกลุ่มตัวเองว่า ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ บุคคลที่เจ้าหน้าที่สืบทราบและกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการละเมิดสถาบันกษัตริย์อาทิ นายสิรภพ กรณ์อุรุษ[20] บุกรุกสำนักงานเว็บไซด์ประชาไท[21]รัฐบาลยังจัดตั้ง คณะกรรมการติดตามการป้องกันและปราบปรามกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการดังกล่าวประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559[22]โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการการหมิ่นสถาบันผ่านยูทูบและเฟซบุ๊ก[23]และจับกุมบุคคลที่หนีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่อยู่ต่างประเทศ อาทิกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่อยู่ต่างประเทศ รัฐบาลปิดกั้นเว็บไซด์ยูทูบ บางสถานีเช่น สถานีของ ดร.เสน่ห์ ถิ่นแสน ในเดือนตุลาคม 2559 ในเดือนเมษายน 2561 อัยการมีคำสั่งฟ้องบุคคล 41 ราย ในข้อหาขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเนื่องจากก่อการชุมนุมทางการเมือง คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 ยังนับว่าเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกที่ ประกาศใช้กฎอัยการศึกยาวนานที่สุดในคณะรัฐมนตรีไทย

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
ซิงเกิลเกตเวย์

รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศ (single gateway) เพื่อให้รัฐบาลสามารถสอดส่องทุกกิจกรรมออนไลน์ได้ โดยในเดือนสิงหาคม 2558 ได้ปรากฏเอกสารข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้ง single gateway โดยอ้างเหตุผลว่า "เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ต"[24]

ประเด็นสำคัญหนึ่งที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาจต้องจัดการ คือ การเข้ารหัสลับ โดยการเข้ารหัสอาจทำให้รัฐบาลไม่สามารถเฝ้าสังเกตการไหลเข้าออกประเทศของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต แปลว่าประเทศไทยอาจสั่งห้ามการเข้ารหัสลับ ร่วมกับอุปกรณ์อำพรางอย่างเครือข่ายส่วนตัวเสมือนและทอร์[25]

ในเดือนต่อมา นโยบายดังกล่าวได้รับการต่อต้านอย่างหนัก เนื่องจากเป็นการริดรอนสิทธิมนุษยชนและจะก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในวันที่ 30 กันยายน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศจำนวนมากได้เข้าโจมตีระบบเว็บไซต์ของทางราชการในรูปแบบ DDos จน 7 เว็บไซต์จนไม่สามารถใช้การได้เพื่อเป็นการประท้วง[ต้องการอ้างอิง]

อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้จัดตั้ง คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม[26]ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น ประธานคณะกรรมการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประยุทธ์ จันทร์โอชา http://inews.bangkokbiznews.com/read/370692 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/717535 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/737580 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/753086 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/766309 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/785275 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/789580 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/791082 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/792536 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/801876